การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือสเปิร์ม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือไข่ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติ แต่ใช้เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) ในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่
อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ การตัดกิ่ง ใบ ราก ไปปักชำก็ จัดว่าเป็นโคลนในพืชที่เรียกว่า การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็มีการศึกษาการโคลนในสัตว์บ้างเหมือนกัน เช่น J.B Gurdon จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการโคลนกบ ซึ่งนับว่าเป็นการโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งแรก J.B Gurdon ได้นำนิวเคลียสของเซลล์ ที่ได้จากลำไส้เล็กของลูกอ๊อดกบ (เป็น Somatic cell) มีโครโมโซม 2 n ไปใส่ในเซลล์ไข่ของกบอีกตัวหนึ่งที่ทำลายนิวเคลียสแล้ว พบว่าไข่กบนี้ สามารถเจริญเติบโตเป็นกบตัวใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนกบ ที่เป็นเจ้าของนิวเคลียสที่นำมาใช้
ในกรณีการโคลนแกะดอลลี ของนายเอียน วิลมุต ใช้เทคโนโลยีวิธีเดียวกันกับการโคลนกบ โดยนำนิวเคลียสของเซลล์เต้านมแกะที่เป็นต้นแบบมาใส่ในไข่ของแกะอีกตัวหนึ่ง แล้วนำเซลล์ไข่ที่ทำการโคลนแล้วไปถ่ายฝากตัวอ่อนในท้องแม่แกะอีกตัวหนึ่ง
การโคลนอีกวิธีหนึ่งเป็นการเลียนแบบการเกิดฝาแฝดแท้ในระยะแรก ๆ ทำการทดลองกับ Sea urchin เมื่อไซโกตของ Sea urchin แบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์ ก็แยกเซลล์ทั้งสองออกจากกัน นำแต่ละเซลล์ไปเพาะเลี้ยงพบว่า เซลล์แต่ละเซลล์ของ Sea urchin สามารถเจริญเป็นเอ็มบริโอและลาวาได้(ดังภาพ)
การโคลน Sea urchin นี้เป็นการโคลนในระดับเอ็มบริโอ ถือว่าเป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตที่เป็นแฝดแท้ ในระยะต่อมา มีการทดลองในแกะเช่นกัน โดยจะทำการโคลนเมื่อไซโกตเริ่มแบ่งตัวเแทนเอ็มบริโอในระยะ 8 เซลล์ แล้วจะตัดเอาเซลล์เหล่านั้นออกจากกัน แยกไปฝากในมดลูกแม่แกะตัวอื่น ๆ เมื่อลูกแกะที่ได้จากการโคลนวิธีนี้คลอดออกมา ทุกตัวจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
การโคลนนี้ถ้าไปใช้กับมนุษย์ มีมนุษย์ลักษณะเหมือนกันทุกประการหลาย ๆ คน จะเกิดอะไรขึ้น
(ที่มา http://blog.eduzones.com/boil/3051)
อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ การตัดกิ่ง ใบ ราก ไปปักชำก็ จัดว่าเป็นโคลนในพืชที่เรียกว่า การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็มีการศึกษาการโคลนในสัตว์บ้างเหมือนกัน เช่น J.B Gurdon จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการโคลนกบ ซึ่งนับว่าเป็นการโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งแรก J.B Gurdon ได้นำนิวเคลียสของเซลล์ ที่ได้จากลำไส้เล็กของลูกอ๊อดกบ (เป็น Somatic cell) มีโครโมโซม 2 n ไปใส่ในเซลล์ไข่ของกบอีกตัวหนึ่งที่ทำลายนิวเคลียสแล้ว พบว่าไข่กบนี้ สามารถเจริญเติบโตเป็นกบตัวใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนกบ ที่เป็นเจ้าของนิวเคลียสที่นำมาใช้
ในกรณีการโคลนแกะดอลลี ของนายเอียน วิลมุต ใช้เทคโนโลยีวิธีเดียวกันกับการโคลนกบ โดยนำนิวเคลียสของเซลล์เต้านมแกะที่เป็นต้นแบบมาใส่ในไข่ของแกะอีกตัวหนึ่ง แล้วนำเซลล์ไข่ที่ทำการโคลนแล้วไปถ่ายฝากตัวอ่อนในท้องแม่แกะอีกตัวหนึ่ง
การโคลนอีกวิธีหนึ่งเป็นการเลียนแบบการเกิดฝาแฝดแท้ในระยะแรก ๆ ทำการทดลองกับ Sea urchin เมื่อไซโกตของ Sea urchin แบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์ ก็แยกเซลล์ทั้งสองออกจากกัน นำแต่ละเซลล์ไปเพาะเลี้ยงพบว่า เซลล์แต่ละเซลล์ของ Sea urchin สามารถเจริญเป็นเอ็มบริโอและลาวาได้(ดังภาพ)
การโคลน Sea urchin นี้เป็นการโคลนในระดับเอ็มบริโอ ถือว่าเป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตที่เป็นแฝดแท้ ในระยะต่อมา มีการทดลองในแกะเช่นกัน โดยจะทำการโคลนเมื่อไซโกตเริ่มแบ่งตัวเแทนเอ็มบริโอในระยะ 8 เซลล์ แล้วจะตัดเอาเซลล์เหล่านั้นออกจากกัน แยกไปฝากในมดลูกแม่แกะตัวอื่น ๆ เมื่อลูกแกะที่ได้จากการโคลนวิธีนี้คลอดออกมา ทุกตัวจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
การโคลนนี้ถ้าไปใช้กับมนุษย์ มีมนุษย์ลักษณะเหมือนกันทุกประการหลาย ๆ คน จะเกิดอะไรขึ้น
(ที่มา http://blog.eduzones.com/boil/3051)